การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
บริษัทตระหนักถึง ความสำคัญของภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ในปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อุณหภูมิของพื้นผิวโลก รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งนี้ บริษัทได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่อาจตามมาในอนาคต เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกโดยการใช้พลังงานทดแทน รวมถึงวิธีการอื่น ๆ ที่สำคัญ
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้พลังงาน
- เนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าของบริษัทนั้น จะต้องอาศัยเครื่องจักรที่ใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าค่อนข้างสูง บริษัทมีนโยบายที่จะใช้พลังงานทดแทน หรือการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) เพื่อลดการใช้พลังงานและลดต้นทุนของบริษัทอีกด้วย
- การปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้า (Logistic) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของบริษัทที่มีสัดส่วนต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากบริษัทต้องใช้รถบรรทุกสำหรับการกระจายสินค้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยรถบรรทุกของบริษัทเองหรือการว่าจ้างผู้รับขนส่ง ดังนั้นเพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทจะดำเนินการจัดเรียงเส้นทางการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการขนส่งโดยตรงจากบริษัท หรือผู้ผลิตสินค้า (Supplier) ไปยังลูกค้า โดยจะจัดเรียงลำดับการขนส่งไปในทางเดียวกัน
- บริษัทมีการเลือกใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่มีสายการผลิตที่มีคุณภาพสูง ที่จะสามารถช่วยลดพลังงานไฟฟ้าสำหรับการผลิตของบริษัทได้ ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทนั้นสูงขึ้น อย่างไรก็ตามบริษัทจะสามารถผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทที่มีเป้าหมายที่จะเน้นผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้า
ผลการดำเนินงานปี 2566
เนื่องจากการเพิ่มชั่วโมงการทำงาน 1 กะในเวลากลางคืน ส่งผลให้เกิดการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้านอกองค์กรเพิ่มขึ้น
การจัดการขยะ ของเสีย บำบัดนํ้าเสีย และมลพิษ
บริษัทได้กำจัดขยะ บำบัดนํ้าเสียและสารพิษ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานของประเทศ บริษัทได้ลดการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเลือกเครื่องจักรที่มีคุณภาพสูงเพื่อช่วยลดการก่อให้เกิดของเสียในปริมาณน้อยที่สุด รวมถึงเลือกใช้ผู้รับจ้างกำจัดกากอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
ในส่วนของขยะและของเสียอื่น เช่น ขยะมูลฝอย ของเสียจากโรงอาหาร บริษัทมีแนวทางให้ทำการคัดแยกขยะก่อนการนำส่งให้หน่วยงานเก็บขยะต่อไป
- ขยะทั่วไป 22,383 กิโลกรัม
- ขยะอุตสาหกรรม 21,115 กิโลกรัม
- ขยะรีไซเคิล 48,454 กิโลกรัม
- ขยะอันตราย 58,342 กิโลกรัม
การจัดการขยะและของเสีย
ในปี 2566 บริษัทมีปริมาณขยะจำนวน 150,294 กิโลกรัม แบ่งเป็นขยะทั่วไป 22,383 ขยะอุตสาหกรรม 21,115 ขยะรีไซเคิล 48,454 และขยะอันตราย 58,342 ซึ่งมีปริมาณลดลง 25,944 กิโลกรัม จากปีก่อนหน้า โดยในปี 2567 กลุ่มบริษัทตั้งเป้าลดปริมาณขยะให้น้อยลงกว่าปี 2566
การบำบัดนํ้าเสียและสารพิษ
ในส่วนของการบำบัดน้ำเสียและสารพิษโดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานที่เทียบเท่ากับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศต่าง ๆ โดยในปี 2566 บริษัทมีปริมาณการใช้นํ้ารวม 56,315 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้น 13,684 ลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากมีการผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการปรับปรุงระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์เพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายปริมาณการใช้น้ำต่อน้ำหนักการผลิตไม่มากกว่าปริมาณการใช้น้ำปี 2566
การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
บริษัทมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การใช้พลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเลือกใช้เครื่องจักรที่มีคุณภาพสูงเพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในสายการผลิต นอกจากนี้ บริษัทจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการรณรงค์การปลูกต้นไม้ในเขตโรงงานซึ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่สังคม โดยบริษัทได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2564-2565 บริษัทยังไม่ได้จัดให้มีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) และยังไม่ได้จัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อติดตามพัฒนาการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวางแผนจะเริ่มประเมินในปี 2566
ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างคัดเลือกผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ทวนสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 2566 ของบริษัท